6 จุด Check-in สุด UNSEEN ณ น่าน ครั้งนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก 6 สถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาด !!! ใน จ.น่าน หนึ่งในจังหวัดจุดหมายปลายทาง ที่ได้รับคำแนะนำว่า ควรหาเวลาว่างไปเที่ยวให้ได้ สักครั้งก็ยังดี…
สิ่งที่ทำให้ จ.น่าน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านขุนสถาน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นที่เที่ยวอีกที ที่แนะนำสำหรับใครที่กำลังจะเดินทางไปจังหวัดน่าน เนื่องจาก อากาศดีตลอดปี หน้าร้อนไม่ร้อนมาก วิวสวย และขึ้นชื่อในเรื่องของที่พัก ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศแบบธรรมชาติ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาตอนเช้ากันเลยที่เดียว
ทางอุทยานฯ มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวแต่ต้องจองล่วงหน้า มีลานกางเต็นท์ให้บริการทั้งหมด 6 ลาน แต่ต้องเตรียมเต็นท์ไปเอง มีบ้านพักให้บริการ 7 หลัง โดยเสียแต่ค่าบำรุงตามแต่จะบริจาค บ้านพักที่นี่แนะนำให้จองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
ข้อมูลการติดต่อ
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตู้ ปณ.5 อ. นาน้อย จ. น่าน 55150 ติดต่อจองได้ที่เบอร์ 087-173-9549 อีเมล ksnp@khunsathan.com, khunsathan@hotmail.com
เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติขุนสถาน มี 2 เส้นทาง คือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ไปจังหวัดน่าน จากจังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านห้วยแก๊ต ตำบลไผ่โทนอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา – อำเภอนาน้อย ระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอำเภอนาน้อย ประมาณ 35 กิโลเมตร และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติขุนสถาน GPS : https://goo.gl/maps/4hKkzkGqBJQ2
สะจุก-สะเกี้ยง
สะจุก-สะเกี้ยง หรือ โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ สะจุก-สะเกี้ยง
“ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเร่งฟื้นฟู สภาพป่าต้นน้ำบริเวณยอดดอยขุนน่าน ให้มีความสมบูรณ์ ดังเดิม ”
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ สะจุก-สะเกี้ยง อยู่ทางตะวันออกตอนบนของจ.น่าน อยู่ตำบลขุนน่าน อ.บ่อเกลือ ซึ่งเมื่อขึ้นไปทางด้านบนโครงการอยู่ติดกับทิวเขาหลวงพระบาง ฝั่งประเทศลาว
ย้อนไปในอดีต น่าน ประสบปัญหาป่าเสื่อมโทรม โดยเฉพาะพื้นที่หมู่บ้านสะจุก-สะเกี้ยง ที่อยู่ในเขต ป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา-ผาแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำสำคัญ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้เรื่องการทำนาแบบขั้นบันได เพื่อให้เหมาะกับภูมิประเทศ ทำให้เพิ่มผลผลิตและยังรายได้ที่มากขึ้นแก่ชาวบ้านและชาวเขาทุกคน
บรรยากาศอบอุ่นของการมาเยือนสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงบ้านสะจุก-สะเกี้ยง ก็คือภาพชาวบ้านยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างมีความสุข เพราะสามารถทำผลผลิตได้มากขึ้น ทางโครงการฯ ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักเมืองหนาว ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น สตรอว์เบอร์รี, ต้นหม่อนและผักปลอดสารพิษ และยังแนะนำการทำปศุสัตว์ใน ครัวเรือน อย่าง การเลี้ยงหมู ไก่ เป็ด แกะ และแพะ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด ยิ่งถ้ามาในฤดูเพาะปลูก จะพบเห็นหุบเขากว้างใหญ่ที่ทำการเกษตรแบบนาขั้นบันไดเป็นระเบียบสวยงาม ด้วยความเป็นภูเขาสูงสภาพอากาศจึงหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี อาจจะเดินทางลำบากสักนิด แต่ก็เป็นจุดหมายที่ทำให้ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวเหนืออย่างแท้จริง
ห้ามพลาด ที่เที่ยวห้ามพลาด
ทะเลหมอก งดงามกลางหุบเขา มักจะเกิดขึ้นยามเช้ามืด เห็นได้เกือบทุกวัน
ชมนาขั้นบันได ไหล่เขาระหว่างการเดินทาง มีนาขั้นบันไดอวดโฉมอยู่เป็นระยะ
จุดชมวิวช่องเขาขาด ชมวิวหุบเขาที่กว้างใหญ่ไพศาล(ระหว่างทางก่อนถึงโครงการ)
สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงบ้านสะจุก-สะเกี้ยง บ้านสะจุก
ม. 7 และบ้านสะเกี้ยง ม. 8 ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
โทร. 08-4818-1008
เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน 08.30-17.00 น.
ฤดูท่องเที่ยว : สิงหาคม-กันยายน (เที่ยวฤดูฝนดูนาข้าว) พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ (เที่ยวหน้าหนาว)
การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 ทาง
- จากน่าน ไปทาง อ.ปัว เข้าบ้านบ่อเกลือ ขึ้นไปตามทางหลวง 1081
- (ถ้ามาจากน่านตอนบน)ไปทางอ.เฉลิมพระเกียตริ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองห้วยโกน ไปตามทางหลวง 1081
อุทยานแห่งชาติแม่จริม จ.น่าน
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป หรือผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการล่องแก่ง เนื่องจากน้ำว้าตอนล่างมีธรรมชาติที่สวยงาม และสายน้ำไม่เชี่ยวมาก
“ล่องแก่ง” ได้ยินคำนี้ ใครๆ ก็คงนึกถึงกิจกรรมอันโลดโผน การผจญภัยกลางสายน้ำที่เชี่ยวกราก ที่สามารถทำให้เลือดลมสูบฉีดและอะดรีนาลีนหลั่งได้ง่ายๆ ยิ่งถ้าบอกว่าจะไปล่องแก่งที่ลำน้ำว้า ก็ยิ่งทำให้น่าตื่นเต้นมากขึ้นไปอีก เพราะ “ลำน้ำว้า” จัดว่าเป็นที่สุดแห่งการล่องแก่งในเมืองไทย และยังติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเอเชียอีกด้วย
แต่ที่น้ำว้าตอนล่าง สายน้ำไม่ได้โหดร้าย ท้าทายความสามารถอย่างน้ำว้าตอนบน และน้ำว้าตอนกลาง เพราะมีความยากอยู่ในระดับ 1-3 เท่านั้น ถ้าจะเปรียบก็คงเรียกได้ว่า อยู่ในระดับประถม ดังนั้นนักล่องแก่งมือใหม่แกะกล่องก็ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะล่องไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานบอกว่าพวกคุณน้า คุณอา คุณป้า คุณลุง ก็สามารถลงเล่นได้เหมือนกัน และการล่องแก่งที่น้ำว้าตอนล่างจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และส่วนมากจะเหมือนเป็นการล่องเรือยางชมวิว ทิวทัศน์ของป่าเขาซะมากกว่า เกาะแก่งที่มีก็ทำให้ได้ตื่นเต้นบ้างแบบที่เลือดในกายจะได้สูบฉีดแต่พอดี พอได้ฟังคำบอกเล่าแบบนี้เราจึงรู้สึกอุ่นใจมากขึ้นและอยากจะขอลองซ้อมมือ ก่อนคิดจะเลื่อนชั้นไปล่องแก่งในระดับที่ยากกว่า
ทันทีที่ไปถึงยังจุดลงเรือยาง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราจะต้องตั้งใจฟังเจ้าหน้าที่อุทยานฯอธิบายถึงหลักการล่องแก่งและวิธีการ เอาตัวรอดหากเรือเกิดพลิกคว่ำ ซึ่งทุกคนควรจะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดขณะที่อยู่ในเรือยาง เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะสามารถช่วยเหลือเราได้อย่างทันท่วงที และตัวเราเองก็จะได้รับอันตรายน้อยที่สุดเช่นกันด้วย เมื่อฟังคำอธิบายเสร็จเรียบร้อยเราก็พร้อมจะไปล่องแก่งกันแล้ว ไปสวมเสื้อชูชีพ หมวกกันน๊อค และรับไม้พายได้เลย
เนื่องจากการล่องแก่งที่น้ำว้าตอนล่าง เราไม่ต้องออกแรงจ้วงไม้พายต่อสู้กับกระแสน้ำมากนัก จึงทำให้เจ้าหน้าที่ท้ายเรือมีเวลามากพอที่จะชี้ชวนให้เราดูทิวทัศน์ และบรรยายถึงแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่จริมระหว่างที่เราล่องไปตาม ลำน้ำ ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่า สาเหตุที่ผืนป่าในบริเวณนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มากนั้น ก็เพราะมีเจ้าหน้าที่ของอุทยานทุกท่านที่อุทิศตนทำหน้าที่รักษาทรัพยากร เหล่านี้ไว้อย่างแข็งขัน ที่น้ำว้าตอนล่างแห่งนี้จะมีจุดที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ซึ่งระหว่างทางน้ำที่เราล่องผ่านไปนั้น เราจะได้พบกับผาวัดใจ หน้าผาสูง 5 เมตร ที่ใช้ประลองความกล้า ท้าความกลัว ด้วยการกระโดดจากหน้าผาลงสู่สายน้ำอันเย็นฉ่ำที่คุณไม่ควรพลาด แต่ถ้าใครไม่ถูกกับความสูง ก็สามารถลอยคอเล่นน้ำอยู่บริเวณนั้นได้เช่นกัน
เวลา 2 ชั่วโมง ช่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เรายังคงรู้สึกสนุกไม่หาย เพราะเมื่อได้ผ่านเกาะแก่งน้อยใหญ่ชนิดที่ทำให้ได้เปียกกันพอชุ่มฉ่ำ ก็ทำให้เครื่องร้อน นึกฮึดอยากจะไปลองล่องแก่งในระดับที่สูงกว่านี้ดูบ้าง แต่น่าเสียดายที่การเดินทางในครั้งนี้เรามาผิดเวลาไปหน่อย เพราะช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงหน้าน้ำ ที่น้ำว้าตอนกลางจึงมีปริมาณน้ำไม่มากพอสำหรับการล่องแก่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต่างก็เน้นเป็นเสียงเดียวกันว่า ให้มาล่องแก่งอีกครั้งในฤดูน้ำหลากที่ลำน้ำว้าตอนกลาง รับรองว่าสนุกไม่รู้ลืมแน่ๆ เราจึงแอบทำสัญญากับตัวเองไว้ในใจว่า “จะต้องกลับมาล่องแก่งที่น้ำว้าตอนกลางให้ได้แน่นอน!!”
ที่อยู่ : 35 หมู่ 5 ต.น้ำปาย อ.แม่จริม จ.น่าน 55170
GPS : 18.600864,100.978829
เบอร์ติดต่อ : 054 730 040, 054 731 757, 080 679 9070
E-mail : maejarim_np@hotmail.com
เวลาทำการ : 9.00-21.00 น.
ค่าธรรมเนียม : ค่าธรรมเนียมชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ค่าธรรมเนียมชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ค่ายานพาหนะ จักรยาน 10 บาท จักรยานยนต์ 20 บาท รถยนต์ส่วนบุคคล 30 บาท
ช่วงเวลาแนะนำ : อุทยานแห่งชาติแม่จริมสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี การล่องแก่งยกเว้นวันที่น้ำหลาก
ไฮไลท์ : ล่องแก่งที่ลำน้ำว้า ตอนกลาง และ ตอนล่าง
กิจกรรม : ล่องแก่งน้ำว้า ผจญภัยและเล่นน้ำกว่า 8 แก่ง ชมธรรมชาติอันสวยงามตลอดเส้นทาง
เส้นทางปีนผาหน่อ ดูทิวทัศน์ที่สวยงามรอบด้าน ดูภาพเขียนโบราณในถ้ำที่พบในผาหน่อ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติชบาป่า
สิ่งอำนวยความสะดวก : ทั่วไป
ลานกางเต็นท์ ริมน้ำว้า มีอาคารสำหรับประกอบอาหาร มีห้องน้ำ และไฟฟ้าไว้บริการ
ค่าบริการกางเต็นท์ คนละ 30 บาท/คืน
มีเต็นท์และเครื่องนอนเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว ควรติดต่อสอบถามล่วงหน้า
บ้านพัก มี 4 หลัง ในห้องพักมีเครื่องนอน พัดลม
บ้านพัก น้ำว้า มี 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้ 6 คน ราคา 1,800 บาท
บ้านพักแก่งหลวง1 มี 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้ 4 คน ราคา 1,200 บาท
บ้านพักแก่งหลวง2 มี 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้ 4 คน ราคา 1,200 บาท
บ้านพักชบาป่า มี 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ พักได้ 4 คน ราคา 800 บาท
ภายในบริเวณอุทยานฯ มีร้านค้าสวัสดิการ สามารถสั่งจองให้เจ้าหน้าที่จัดทำอาหารไว้บริการได้
Tips : การล่องแก่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จากจังหวัดน่านข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ประมาณ 38 กิโลเมตร แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม
“วังศิลาแลง” อ.ปัว จ.น่าน
อีกหนึ่งที่เที่ยวสุดมหัศจรรย์ ที่ได้รับขนานนามว่า “แกรนด์แคนยอนเมืองปัว” มีวังน้ำถึง 7 วัง ระยะทางกว่า 400 เมตร ช่วงฤดูแล้งจะมองเห็นความสวยงาม ของวังน้ำและโตรกผาได้ชัดเจน และสามารถเล่นน้ำได้
หุบเขารอยเลื่อนปัว
วังศิลาแลง หรือวังบอก ที่ชาวบ้านเรียกขานกันนานมา สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่าวังบอก เนื่อกจาก เรียกตามลักษณะ ของหิน ที่มีลักษณะเป็นช่องทรงกระบอก จึงทำให้ชาวบ้านเรียกตามกันเรื่อยมาว่า วังบอก แล้วภายหลังก็เปลี่ยนเป็นชื่อ วังศิลาแลง นั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่หินมีลักษณะ เป็นทรงกระบอก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าง เมื่อนานมาแล้วหลายพันปี เกิดการเลื่อนตัวของเปลือกโลก ของแนวรอยเลื่อนปัว ซึ่งมีภูมิลักษณ์แบบแก้วไวน์ (Y-glass) เมื่อกระแสน้ำกูนไหลผ่าน หมุนวัน กัดเซาะเป็นเวลานานหลายพันปี จึงทำให้หินเกิดเป็นทรง กระบอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัง
เมื่อชาวบ้านอพยพเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณบ้านหัวน้ำในปัจจุบัน ก็ได้สร้างเป็นฝายกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเรียกได้ว่า แม่น้ำกูน หรือ วังศิลาแลงแห่งนี้ เป็นแม่น้ำที่ไหลเลี้ยงชาวตำบลศิลาแลงมาเป็นเวลาช้านาน
เกิ่นประวัติของสถานที่ที่เราจะไปลุยกันในวันนี้แล้ว พอให้ท่านผู้อ่านได้เกิดความรู้สึกน่าค้นหามาบ้างแล้ว หากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงเที่ยวเมืองปัวโดยรถโดยสารสามารถที่จะติดต่อรถมอเตอร์ไซต์ หรือรถสองแถว (ตรงข้ามปั้ม ปตท.) แล้วบอกลูกพี่ว่าไปวังศิลาแลง แต่ถ้าพี่แกยังทำหน้ามึน ให้บอกว่า ไปบ้านหัวน้ำ แต่ถ้ายังมึนอยู่ แนะนำให้เปลี่ยนคัน
บ้านหัวน้ำใช้เส้นทาง 1081 ปัว – น้ำยาว ห่างจากตัวอำเภอปังประมาณ 5 กิโลเมตร
ขอบคุณข้อมูล www.tlcthai.com
บ้านป่ากำ-เผ่าลั๊ะ
เหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าป่ากำ เนื่องจากในพื้นที่หมู่บ้านมีต้นไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายต้นไผ่หลิวชาว บ้านเรียกว่าต้นก๋ำ ซึ่งชาวบ้านจะใช้เป็นหลอดดูดเหล้าอุ (เป็นสุราพื้นบ้านที่ทำกันเองในช่วงมีงานเทศกาลและประเพณีต่างๆของหมู่บ้าน)
บ้าน ป่ากำ เป็นหมู่บ้านที่อนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ การแต่งกาย การเจาะหู การเคี้ยวหมาก การสร้างบ้านยังคงเป็นรูปแบบเดิม บ้านทุกหลังจะมีลักษณะบ้านแบบเดียวกัน คือ เป็นบ้านยกพื้น หลังคามุงด้วยหญ้าคาจนถึงพื้นดิน เพราะเชื่อกันว่าป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้าย สิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในบ้าน และห้ามคนอื่นเข้าไปในห้องนอน บ้านป่ากำยังไม่มีไฟฟ้าใช้
- การแต่งกาย ชายจะสวมเสื้อผ้าสีเข้มแขนยาว นุ่งผ้าต้อย(นุ่งจงกระเบน)สีเข้ม โพกหัวด้วยผ้าแดง หญิงจะสวมเสื้อผ้าสีเข้มแขนยาวประดับด้วยเข็มกลัด นุ่งผ้าถุงสีเข้ม โพกหัวด้วยผ้าสีแดง
- การเจาะหู เมื่อเด็กชายและหญิงอายุได้ 3 ขวบจะเจาะหูแล้วร้อยด้วยไม้เฮี้ยไว้ เมื่อโตขึ้นจึงมีขนาดรูติ่งหูที่ใหญ่
- การกินหมาก เด็กเมื่อมีอายุ 7-8 ขวบจะมีการกินหมากเหมือนกับผู้ปกครองและจะกินไปจนตลอดชีวิต
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา
หมู่บ้านตั้งอยู่ที่พิกัด QB 259276 ห่างจากตัวจังหวัดน่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 123.5 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือไปทางทิศเหนือ 11 กิโลเมตร แยกเป็นถนนลาดยาง 11.5 กิโลเมตร ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญาตำบลดงพญา 5.5 กิโลเมตร (ใช้เวลาเดินเท้า 2 ชั่วโมง) วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น (บ้านป่ากำ)
อาโปเดอมาง อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
อาโปเดอมาง รีสอร์ทริมน้ำมาง ความหมายของชื่อที่พักบอกเล่าความโดดเด่นของที่ตั้งได้อย่างชัดเจน ที่พักริมน้ำมาง ท่ามกลางธรรมชาติ และขุนเขา ตอนกลางวันไม่ร้อนมาก ตอนกลางคืนนอนดูดาว ฟินกับอากาศหนาว รีสอร์ทแห่งนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน บรรยากาศแบบนี้มีที่นี่ที่เดียวเท่านั้น
ความเรียบง่าย ที่ไม่ธรรมดาของที่พักสไตล์เต๊นท์/กระโจม สีขาวๆ ที่อยู่ติดลำธาร และล้อมรอบทุกทิศทางไปด้วยภูเขา ทำให้ที่นี่กลายเป็นอาณาจักรแห่งความสุขเล็กๆ ที่แค่ได้ยืนมองบรรยากาศ หัวใจก็พองโตแล้ว เสน่ห์ของ อ.บ่อเกลือ คืออากาศที่เย็นสบาย จนไม่ต้องพึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ใช้แค่ใจและความสงบ ไร้ซึ่งความวุ่นวาย มีเพียงเราและธรรมชาติเท่านั้น
ที่ตั้ง : อาโปเดอมาง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ
รายละเอียดห้องพักเพิ่มเติม : คลิก
โทรศัพท์ : 095 626 4851 คุณดรีม
Line : @arpodemarng
Facebook : www.facebook.com/arpodomarng